วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว


การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง  การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียนเรียบหรือประพันธ์ไว้โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไหตามความนิยมและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน มีการใช้ลีลาของเสียงไปตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์นั้นๆ ไหสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราวหรือรสของบทประพันธ์




หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว มีดังนี้


. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความเพื่อจะแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม
           . อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วกัน ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
            . อ่านให้คล่องฟังรื่นหูและออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะตัว ร ล หรือคำควบกล้ำ ต้องออกเสียงให้ชัดเจน
            . อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด
            . เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง โกรธ ฯลฯ
            . อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง รู้จักใส่อารมณ์ให้เหมาะสมตามเนื้อเรื่อง
            . ขณะที่อ่าน ควรสบสายตาผู้ฟัง ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ
             . การอ่านในที่ประชุม ต้องจับหรือถือบทอ่านให้เหมาะสมและยืนทรงตัวในท่าที่สง่า

วิธีการอ่านร้อยแก้ว
ในการฝึกอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้ว จะใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการอ่านเพื่อเป็นการเว้นช่วงจังหวะการอ่าน ดังนี้
เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ
เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะที่ยาวกว่าเครื่องหมาย /
เครื่องหมาย _ (ขีดเส้นใต้) หมายถึง การเน้นหรือการเพิ่มน้ำหนักของเสียง
การอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้วมีวิธีการอ่าน ๒ วิธีดังนี้
) วิธีการอ่านแบบบรรยาย การอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดถ้อยชัดคำ เว้นวรรคตอนในการอ่านให้เหมาะสม เน้นเสียงและถ้อยคำตามคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ เพื่อจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงจุดมุ่งหมายของเรื่องได้ดี

การฝึกอ่านออกเสียงแบบบรรยายไม่เน้นการแสดงอารมณ์
ในปัจจุบันกล่าวกันว่า/เรากำลังอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกไร้พรมแดน//แต่จะเรียกอย่างไรก็ตามเถิด/การอ่าน/ก็เป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนในทศวรรษนี้/เพราะโลกของการศึกษามิได้จำกัดอยู่ภายในห้องเรียนที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมแคบๆ/เท่านั้น//แต่ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศต่างๆ/ ได้ย่อโลกให้เล็กลงเท่าที่เราอยากรู้ได้รวดเร็ว/ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวอย่างที่คนโบราณกล่าวไว้//จะมีสื่อให้เลือกอ่านอย่างหลากหลาย//ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราคุ้นเคย/ไปจนถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า/ “อินเตอร์เน็ต”/เพราะการต่อสู้รุกรานกันของมนุษย์ยุคใหม่/จะใช้ข้อมูล/สติปัญญาและคุณภาพของคนในชาติ//มากกว่าการใช้กำลังอาวุธเข้าประหัตประหารกัน//หากในชาติด้อยคุณภาพ/ขาดการเรียนรู้/จะถูกครอบงำทางปัญญาได้ง่ายๆ/จากสื่อต่างๆ
(ชาติก้าวไกลด้วยคนไทยรักการอ่าน : มานพ ศรีเทียม)

การฝึกอ่านออกเสียงแบบบรรยายเน้นการแสดงอารมณ์
เกวียนโขยกขลุกขลักไปอย่างเชื่องช้า/เสียงเพลาเสียดสีไปกับดุม/ดังเสียงแหลมเล็ก/สลับกับเสียงกระดิ่งวัว/ดังตามจังหวะการก้าวเดินของวัวชราสองตัวนั้น/ฟังเป็นเพลงมาร์ชประจำทุ่ง/ที่มีตัวโน้ตธรรมชาติเป็นผู้กำหนดทำนอง//บางครั้ง/มันฟังดูเศร้าซึม/เหมือนอย่างเสียงของเกวียนเล่มนี้//
ชายชรานั่งขยับไม้แส้อยู่บนเกวียน/แกแกว่งไม้อยู่กลางอากาศ/ขณะไล่วัวด้วยเสียงแหบพร่า/แกคงไม่กล้าเอาไม้แส้แตะหลังวัว/ให้มันระคายเคืองหรือเจ็บปวดใจ/สังขารอันร่วงโรยของไอ้แก้วไอ้ไหม/วัวคู่ยากก็ไม่ต่างจากเจ้าของมากนัก//หนังหย่อนยานรัดรูปลงไปโชว์กระดูก/เรี่ยวแรงของมันค่อยหมดลงไปจนเกือบจะลากขาตัวเองไม่ไหว//ถ้าแกมั่งมีหรือพอมีใช้/ก็จะปลดเกษียณให้วัวคู่ยาก/มันได้พักผ่อนยามชราบ้าง//แต่มันจนใจ/เพราะแม้แต่ตังแกเองก็ยังไม่ได้พัก/แม้ย่างเข้า ๖๕ แล้ว/ชีวิตที่เข้มข้นเมื่อตอนหนุ่มๆ/ได้กลายเป็นความหลังอันยืดยาว/มีนิยายชีวิตที่เล่าให้ลูกหลานฟังได้หลายวันหลายคืนกว่าจะจบ//

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
    1.ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
    2.ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง ( อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง )
    3.ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน
    4.ช่วยให้จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ
    5.ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น ( ประโยชน์โดยอ้อม )
    6.ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น