๒. การอ่านเพื่อความบันเทิง บุคคลบางประเภทมีความชอบที่จะอ่านเพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านเพื่อความรู้
เนื่องจากว่า
ความบันเทิงเป็นอาหารทางใจซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกันกับอาหารและอากาศ
จึงมักจะเลือกอ่านแต่หนังสือที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้แจ่มใส มีความสุข
คนไทยเรานั้นใช้การอ่านเป็นเครื่องให้ความบันเทิงใจมาเป็นเวลาติดต่อกันนานหลายปีแล้ว
เห็นได้จากนิทานร้อยแก้วและนิทานคำกลอนสำหรับอ่าน กลอนเพลงยาว นิราศ
ตลอดจนวรรณกรรมอื่นๆที่ถูกแต่งขึ้นอย่างมากมายและหลากหลายในสมัยก่อน ล้วนแต่มีส่วนให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านทั้งสิ้น
จวบจนปัจจุบันนี้ก็มียัง นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี การ์ตูนมีภาพประกอบต่างๆ
มากมายเพื่อสร้างรอยยิ้มความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านโดยวิธีการอ่านง่ายๆและสามารถทำได้หลายโอกาส เช่น
ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น
หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง
๓.
การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ นอกจากความต้องการในการหาความรู้และความบันเทิงแล้ว
คนบางคนยังแสวงหาคำตอบอื่นๆให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม
จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป ที่จะมักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท
การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
หรืออ่านเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ กล่าวคือการอ่านหนังสือมากๆ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีความคิดกว้างขวางทันสมัย
สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือที่เป็นคติสอนใจหรือเป็นอุทาหรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น