การอ่านในใจ
เป็นการอ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญและทำความเข้าใจ
เป็นการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ความบันเทิงให้แก่ตนเอง ผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้โดยตลอด
หลักทั่วไปของการอ่านในใจ
การอ่านได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติบางประการของผู้อ่าน ดังนี้
๑.
วงศัพท์
ถ้าผู้อ่านรู้ศัพท์มาก
คือรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ
สำนวนในบทอ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว
ถ้ารู้ศัพท์น้อยก็ไม่อาจจับใจความของเรื่องที่อ่าน เป็นการอ่านที่เสียเวลา และอาจนำไปสื่อสารต่อไปอย่างผิดๆ
๒.
ช่วงสายตา
การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มไม่ใช่อ่านทีละคำ ยิ่งผู้อ่านมีช่วงสายตายาว คืออ่านได้ทีละกลุ่มใหญ่ และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น กลุ่มคำที่ขีดคั่นต่อไปนี้เป็นกลุ่มคำที่ควรทอดสายตาแต่ละช่วง งานที่สนุกที่หนึ่ง / ในวัดเบญจมฯ /
คืองานออกร้าน / ในวัดนี้
๓.
การเคลื่อนไหวริมฝีปาก
ตามธรรมดาการอ่านในใจย่อมอ่านได้เร็วกว่าการอ่านออกเสียง เพราะการอ่านออกเสียงต้องอ่านทีละคำ ถึงแม้จะเป็นการอ่านในใจ ถ้าต้องทำปากขมุบขมิบริมฝีปากตามไปด้วยก็ทำให้เสียเวลาไล่เลี่ยกับการอ่านออกเสียง
การอ่านในใจที่ถูกต้องจึงไม่ควรเคลื่อนไหวริมฝีปากในขณะอ่าน
๔.
ระยะสายตา
การอ่านหนังสือที่พอเหมาะแก่ระยะสายตา
จะช่วยให้เห็นชัดและสบายตา
คือระยะ ๑๕ นิ้ว
การอ่านหนังสือที่อยู่ห่างจากตามากหรือน้อยกว่าระยะนี้จะอ่านได้ไม่ชัดและเป็นอันตรายต่อสายตา
๕.
ความมุ่งหมาย
การอ่านจะได้ผลดีที่สุดต่อเมื่อผู้อ่านมีความต้องการรู้เรื่องในข้อความที่อ่าน
ผู้อ่านจะสามารถจับใจความสำคัญได้ดีและเร็ว ถ้าความมุ่งประสงค์ของผู้อ่านและผู้เขียนตรงกัน
กล่าวคือผู้อ่านใคร่รู้เรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารแก่ผู้อ่าน ในการอ่านแต่ละครั้งควรตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจนว่าต้องการรู้เรื่องอะไร
โดยพยายามตั้งคำถามจากชื่อบทหรือหัวข้อที่อ่านแล้วหาคำตอบจากบทอ่านนั้น
วิธีการอ่านในใจ
การอ่านในใจอาจแบ่งตามความมุ่งหมายได้
๒ วิธี คือ
อ่านอย่างเร็วและอ่านอย่างละเอียด
๑
อ่านอย่างเร็ว
การอ่านอย่างเร็วเป็นการอ่านผ่านๆไปอย่างรวบรัด
อาจข้ามตอนใดตอนหนึ่งหรือใจความส่วนใหญ่ใช้ในกรณีที่เรื่องนั้นๆคุ้นและเป็นที่น่าสนใจ หรือรู้สึกสนุกสำหรับผู้อ่าน
ถึงแม้จะมีคำบางคำที่เป็นคำแปลกใหม่ไม่รู้จักมาก่อนก็อาจข้ามไปได้
บางทีผู้อ่านไม่ได้สังเกตเห็นด้วยซ้ำไปการอ่านอย่างเร็วใช้ในการอ่านข้อความประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น
บทความ ชื่อเฉพาะที่คุ้นเคย
เช่นชื่อห้าร้าน ชื่อสินค้า พาดหัวหนังสือพิมพ์ การค้นหาคำ
หรือข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น
โดยทั่วไปการอ่านอย่างเร็วอาจทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างพร้อมกันตามหัวข้อต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการอ่าน
๑
อ่านเฉพาะหัวข้อเรื่อง หัวข้อเรื่องมักพิมพ์ด้วยตัวหนา
๒
พิจารณาใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า ใจความสำคัญมักปรากฏอยู่ในประโยคตอนต้น หรือตอนท้ายของย่อหน้า
๓.
หาชื่อ สถานที่
วันที่ คำจำกัดความ กฎเกณฑ์
หรือข้อคิดที่สำคัญ
๔.
อ่านอักษรตัวหนา ตัวเอน
และเครื่องหมายอื่นๆที่แสดงความคิดที่สำคัญ
๕.
พิจารณาโครงเรื่องหรือองค์ประกอบของข้อความ เพื่อหาใจความสรุประหว่างความคิดเห็น ข้อเท็จจริง
และกฎเกณฑ์ต่างๆ
การอ่านอย่างเร็วมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการอ่านอย่างละเอียด คือก่อนลงมืออ่านข้อความอย่างละเอียดควรได้อ่านอย่างเร็วมาล่วงหน้าแล้ว และเมื่ออ่านอย่างละเอียดแล้วก็กลับมาอ่านอย่างเร็วอีกครั้งหนึ่ง
๒
การอ่านอย่างละเอียด
การอ่านอย่างละเอียดคือ
การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่อ่าน
ขณะที่อ่านอย่างละเอียดควรหยุดตั้งคำถามไปด้วยว่าได้อะไรบ้างจากการอ่าน อาจบันทึกถ้อยคำหรือหัวข้อสำคัญไว้ด้วย
เมื่ออ่านจบแต่ละบทให้นึกย้อนกลับไปใหม่ว่าจะจัดลำดับความสำคัญและข้อเท็จจริงที่ได้จากการอ่านอย่างไร
นับว่าเป็นองค์ความรู้เรื่องการอ่านที่มีความสมบูรณ์ อย่างยิ่งสามารถนำเป็นเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ
ตอบลบ