วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การอ่านในใจ


การอ่านในใจ  เป็นการอ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญและทำความเข้าใจ   เป็นการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ความบันเทิงให้แก่ตนเอง  ผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้โดยตลอด
               หลักทั่วไปของการอ่านในใจ
                การอ่านได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติบางประการของผู้อ่าน  ดังนี้
                   ๑.  วงศัพท์  ถ้าผู้อ่านรู้ศัพท์มาก  คือรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  สำนวนในบทอ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว  ถ้ารู้ศัพท์น้อยก็ไม่อาจจับใจความของเรื่องที่อ่าน  เป็นการอ่านที่เสียเวลา  และอาจนำไปสื่อสารต่อไปอย่างผิดๆ
                   ๒.  ช่วงสายตา   การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มไม่ใช่อ่านทีละคำ  ยิ่งผู้อ่านมีช่วงสายตายาว  คืออ่านได้ทีละกลุ่มใหญ่  และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น   กลุ่มคำที่ขีดคั่นต่อไปนี้เป็นกลุ่มคำที่ควรทอดสายตาแต่ละช่วง  งานที่สนุกที่หนึ่ง / ในวัดเบญจมฯ / คืองานออกร้าน / ในวัดนี้


การอ่านออกเสียงร้อยกรอง

1. ความหมายของบทร้อยกรอง

บทร้อยกรอง หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยมีกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้น และมีความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา ในการอ่านบทร้อยกรองนั้น เราเรียนกว่า การอ่านทำนองเสนาะ

2. ความหมายของ การอ่านทำนองเสนาะ

การอ่านทำนองเสนาะคือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )



การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว


การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง  การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียนเรียบหรือประพันธ์ไว้โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไหตามความนิยมและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน มีการใช้ลีลาของเสียงไปตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์นั้นๆ ไหสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราวหรือรสของบทประพันธ์



การอ่านออกเสียง

              การอ่านออกเสียง คือ การอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
เมื่ออ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องการความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละคร

ประเภทของการอ่าน

          การอ่านสามารถจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะจำแนกประเภทของการอ่านตามเกณฑ์ในการสื่อสาร คือ
1. การอ่านในใจ
2. การอ่านออกเสียง
3. การอ่านบทร้อยกรอง






มารยาทในการอ่าน

มารยาทในการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นในการอ่านเพราะช่วยให้เราเป็นผู้อ่านที่น่าชื่นชมและแสดงอุปนิสัยการอ่านที่ดีที่ควรประพฤติปฏิบัติ มารยาทในการอ่านที่ดี มีดังนี้
1. รู้จักเลือกอ่านสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่อ่านหนังสือที่ผิดศีลธรรม หรือปลูกฝังความคิดที่นำเราไปในทางที่เสื่อมเสีย
2. ไม่อ่านสิ่งที่เป็นงานเขียนส่วนตัวของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต เช่น จดหมาย บันทึกส่วนตัว เอกสารข้อมูลความลับต่างๆ เป็นต้น
3. เลือกอ่านให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ไม่อ่านในเวลาที่ไม่ควรอ่าน เช่น ขณะเรียนหนังสือ ฟังครูสอน ฟังการบรรยาย เป็นต้น
4. ไม่รับประทานอาหารระหว่างอ่านหนังสือ เพราะ จะทำให้หนังสือเปรอะเปื้อนสกปรกได้
5. การอ่านออกเสียงโดยไม่ได้เป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง ไม่ควรอ่านเสียงดังเพราะจะรบกวนสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น
6. ใช้หนังสือด้วยความระมัดระวัง ไม่พับ ฉีก ให้ชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นหนังสือของผู้อื่นไม่ควรขีดเขียน วาดรูปลงในหนังสือ เพราะหนังสือเป็นแหล่งความรู้ที่สามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้อ่านต่อไปได้ ดังคำกล่าวที่ว่า

ยืมยลพึงโปรดได้ เอ็นดู
หยิบจับประคองชู ช่วยป้อง
อย่าลากกระชากถู ฉีกขาด
ยับป่นดังพจน์พร้อง ขัดแค้นเคืองใจ
                                                           (หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล)

ความพร้อมในการอ่าน

           เราจะประสบความสำเร็จในการอ่านและอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ องค์ประกอบหนึ่งคือความพร้อมในการอ่าน ซึ่งมีหลายด้าน ดังนี้

1. ความพร้อมของจิตใจ
เมื่อผู้อ่านจะอ่านสิ่งใดก็ตามควรมีความพร้อมในการอ่าน คือ อยากจะอ่าน และมีสมาธิในการอ่าน เพื่อจะสามารถรับสารที่มีในการอ่านให้ได้มากที่สุด
           2. ความพร้อมของร่างกาย
นอกจากจิตใจแล้ว ร่างกายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการอ่าน ถ้าร่างกายไม่พร้อม เช่น เจ็บป่วยไม่สบาย เหน็ดเหนื่อย สายตาไม่ดี หรือมีอาการป่วยที่ทำให้สมาธิในการอ่านลดน้อยลง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการอ่าน ขณะที่อ่านหนังสือ ผู้อ่านไม่ควรทำสิ่งอื่นไปด้วย เช่น รับประทานอาหาร ฟังเพลง การทำอย่างอื่นไปด้วยจะทำให้อ่านได้ไม่เต็มที่ และไม่ได้รับสารจากการอ่านเท่าที่ควร
3. ความพร้อมของสิ่งแวดล้อม
ควรเลือกอ่านในสถานที่ที่เอื้อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่มีเสียงดังรบกวน อากาศปลอดโปร่ง แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีสิ่งรบกวนอันจะทำให้เสียสมาธิในการอ่าน เป็นต้น