วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การอ่านในใจ


การอ่านในใจ  เป็นการอ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญและทำความเข้าใจ   เป็นการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ความบันเทิงให้แก่ตนเอง  ผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้โดยตลอด
               หลักทั่วไปของการอ่านในใจ
                การอ่านได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติบางประการของผู้อ่าน  ดังนี้
                   ๑.  วงศัพท์  ถ้าผู้อ่านรู้ศัพท์มาก  คือรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  สำนวนในบทอ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว  ถ้ารู้ศัพท์น้อยก็ไม่อาจจับใจความของเรื่องที่อ่าน  เป็นการอ่านที่เสียเวลา  และอาจนำไปสื่อสารต่อไปอย่างผิดๆ
                   ๒.  ช่วงสายตา   การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มไม่ใช่อ่านทีละคำ  ยิ่งผู้อ่านมีช่วงสายตายาว  คืออ่านได้ทีละกลุ่มใหญ่  และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น   กลุ่มคำที่ขีดคั่นต่อไปนี้เป็นกลุ่มคำที่ควรทอดสายตาแต่ละช่วง  งานที่สนุกที่หนึ่ง / ในวัดเบญจมฯ / คืองานออกร้าน / ในวัดนี้


การอ่านออกเสียงร้อยกรอง

1. ความหมายของบทร้อยกรอง

บทร้อยกรอง หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยมีกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้น และมีความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา ในการอ่านบทร้อยกรองนั้น เราเรียนกว่า การอ่านทำนองเสนาะ

2. ความหมายของ การอ่านทำนองเสนาะ

การอ่านทำนองเสนาะคือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )



การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว


การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง  การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียนเรียบหรือประพันธ์ไว้โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไหตามความนิยมและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน มีการใช้ลีลาของเสียงไปตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์นั้นๆ ไหสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราวหรือรสของบทประพันธ์



การอ่านออกเสียง

              การอ่านออกเสียง คือ การอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
เมื่ออ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องการความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละคร

ประเภทของการอ่าน

          การอ่านสามารถจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะจำแนกประเภทของการอ่านตามเกณฑ์ในการสื่อสาร คือ
1. การอ่านในใจ
2. การอ่านออกเสียง
3. การอ่านบทร้อยกรอง






มารยาทในการอ่าน

มารยาทในการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นในการอ่านเพราะช่วยให้เราเป็นผู้อ่านที่น่าชื่นชมและแสดงอุปนิสัยการอ่านที่ดีที่ควรประพฤติปฏิบัติ มารยาทในการอ่านที่ดี มีดังนี้
1. รู้จักเลือกอ่านสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่อ่านหนังสือที่ผิดศีลธรรม หรือปลูกฝังความคิดที่นำเราไปในทางที่เสื่อมเสีย
2. ไม่อ่านสิ่งที่เป็นงานเขียนส่วนตัวของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต เช่น จดหมาย บันทึกส่วนตัว เอกสารข้อมูลความลับต่างๆ เป็นต้น
3. เลือกอ่านให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ไม่อ่านในเวลาที่ไม่ควรอ่าน เช่น ขณะเรียนหนังสือ ฟังครูสอน ฟังการบรรยาย เป็นต้น
4. ไม่รับประทานอาหารระหว่างอ่านหนังสือ เพราะ จะทำให้หนังสือเปรอะเปื้อนสกปรกได้
5. การอ่านออกเสียงโดยไม่ได้เป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง ไม่ควรอ่านเสียงดังเพราะจะรบกวนสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น
6. ใช้หนังสือด้วยความระมัดระวัง ไม่พับ ฉีก ให้ชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นหนังสือของผู้อื่นไม่ควรขีดเขียน วาดรูปลงในหนังสือ เพราะหนังสือเป็นแหล่งความรู้ที่สามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้อ่านต่อไปได้ ดังคำกล่าวที่ว่า

ยืมยลพึงโปรดได้ เอ็นดู
หยิบจับประคองชู ช่วยป้อง
อย่าลากกระชากถู ฉีกขาด
ยับป่นดังพจน์พร้อง ขัดแค้นเคืองใจ
                                                           (หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล)

ความพร้อมในการอ่าน

           เราจะประสบความสำเร็จในการอ่านและอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ องค์ประกอบหนึ่งคือความพร้อมในการอ่าน ซึ่งมีหลายด้าน ดังนี้

1. ความพร้อมของจิตใจ
เมื่อผู้อ่านจะอ่านสิ่งใดก็ตามควรมีความพร้อมในการอ่าน คือ อยากจะอ่าน และมีสมาธิในการอ่าน เพื่อจะสามารถรับสารที่มีในการอ่านให้ได้มากที่สุด
           2. ความพร้อมของร่างกาย
นอกจากจิตใจแล้ว ร่างกายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการอ่าน ถ้าร่างกายไม่พร้อม เช่น เจ็บป่วยไม่สบาย เหน็ดเหนื่อย สายตาไม่ดี หรือมีอาการป่วยที่ทำให้สมาธิในการอ่านลดน้อยลง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการอ่าน ขณะที่อ่านหนังสือ ผู้อ่านไม่ควรทำสิ่งอื่นไปด้วย เช่น รับประทานอาหาร ฟังเพลง การทำอย่างอื่นไปด้วยจะทำให้อ่านได้ไม่เต็มที่ และไม่ได้รับสารจากการอ่านเท่าที่ควร
3. ความพร้อมของสิ่งแวดล้อม
ควรเลือกอ่านในสถานที่ที่เอื้อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่มีเสียงดังรบกวน อากาศปลอดโปร่ง แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีสิ่งรบกวนอันจะทำให้เสียสมาธิในการอ่าน เป็นต้น

วิธีอ่านหนังสือที่ดี



วิธีการอ่านหนังสือที่ดี  มีขั้นตอน       

              1.   อ่านทั้งย่อหน้า  การฝึกอ่านทั้งย่อหน้าควรปฏิบัติ  ดังนี้
                              1.1  พยายามจับจุดสำคัญของเนื้อหาในย่อหน้านั้น
                              1.2  พยายามถามตัวเองว่าสามารถตั้งชื่อเรื่องแต่ละย่อหน้าได้หรือไม่
                              1.3  ดูรายละเอียดนั้นว่ามีอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับจุดสำคัญ  มีอะไรบ้างที่ไม่
                     เกี่ยวข้อง และอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง  เกี่ยวข้องกันอย่างไร
                              1.4  แต่ละเรื่องติดต่อกันหรือไม่  และทราบได้อย่างไรว่าติดต่อกัน
                              1.5.  วิธีการเขียนของผู้เขียนมีอะไรบ้างที่เสริมจุดสำคัญเข้ากับจุดย่อย

คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี

        1.   มีนิสัยรักการอ่าน
        2.   มีจิตใจกว้างขวางพร้อมที่จะอ่านหนังสือที่ดีมีคุณค่าได้ทุกประเภท
        3.   มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและเรื่องที่อ่าน
        4.   หมั่นหาเวลาหรือจัดเวลาสำหรับการอ่านให้กับตนเองทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
        5.   เป็นคนรักหนังสือและแสวงหาหนังสือที่ดีอ่านอยู่เสมอ
        6.   มีความสามารถในการเลือกหนังสือที่ดีอ่าน
        7.   มีความอดทน  มีอารมณ์หรือมีสมาธิในการอ่าน
        8.   มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
        9.   มีความเบิกบาน  แจ่มใส  และปลอดโปร่งอยู่เสมอ
        10.   มีนิสัยใฝ่หาความรู้  ความคิด  และประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
        11.   มีทักษะในการอ่านสรุปความ  วิเคราะห์ความ  และวินิจฉัยความ           
        12.   มีความคิดหรือมีวิจารณญาณที่ดีต่อเรื่องที่อ่านสามารถที่จะแยกแยะข้อเท็จจริง  ความถูกต้อง ความเหมาะสมต่าง ๆ และสามารถเลือกนำไปใช้ประโยชน์
        13.   มีนิสัยชอบจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบในการอ่านและเห็นว่ามีคุณค่า
        14.   มีความจำดี  รู้จักหาวิธีช่วยจำ  และเพิ่มประสิทธิภาพของการจำ             
        15.   มีนิสัยชอบเข้าร้านหนังสือและห้องสมุด
        16.   มีโอกาสหรือหาโอกาสพูดคุยกับผู้รักการอ่านด้วยกันอยู่เสมอ  เพื่อแลกเปลี่ยน ทรรศนะในการอ่านให้แตกฉานยิ่งขึ้น
        17.   มีนิสัยหมั่นทบทวน  ติดตาม  ค้นคว้าเพิ่มเติม




ประโยชน์ของการอ่าน

        1.   เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์
        2.   ทำให้มนุษย์เกิดความรู้  ทักษะต่าง ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
        3.   ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์  ความเพลิดเพลินบันเทิงใจและเกิดความบันดาลใจ        
        4.   เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
        5.   ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลก  
        6.   เป็นการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์
        7.  ช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจและปัญหาส่วนตัว 

               

จุดมุ่งหมายของการอ่าน

              ๑. การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า  คือ ต้องการได้รับความรู้จากเนื้อเรื่องที่อ่าน เช่น การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี หรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนและนักศึกษา เพื่อรู้และเข้าใจเรื่องราวตามหลักสูตร และอ่านวารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์ บ้านเมือง บ้านเมือง ผู้ประกอบอาชีพต่างๆก็ต้องอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขาอาชีพของตนหรือเพื่อทำความเข้าใจวิทยาการใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าแม้แต่ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีสำหรับบุคคลทั่วไป ก็ยังให้ความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง เพราะบุคคลทั่วไปอ่านหนังสือต่างๆ เพื่อขยายความรู้ ความสนใจให้กว้างขวาง

              ๒. การอ่านเพื่อความบันเทิง  บุคคลบางประเภทมีความชอบที่จะอ่านเพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านเพื่อความรู้ เนื่องจากว่า ความบันเทิงเป็นอาหารทางใจซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกันกับอาหารและอากาศ จึงมักจะเลือกอ่านแต่หนังสือที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้แจ่มใส มีความสุข คนไทยเรานั้นใช้การอ่านเป็นเครื่องให้ความบันเทิงใจมาเป็นเวลาติดต่อกันนานหลายปีแล้ว เห็นได้จากนิทานร้อยแก้วและนิทานคำกลอนสำหรับอ่าน กลอนเพลงยาว นิราศ ตลอดจนวรรณกรรมอื่นๆที่ถูกแต่งขึ้นอย่างมากมายและหลากหลายในสมัยก่อน ล้วนแต่มีส่วนให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านทั้งสิ้น จวบจนปัจจุบันนี้ก็มียัง นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี การ์ตูนมีภาพประกอบต่างๆ มากมายเพื่อสร้างรอยยิ้มความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านโดยวิธีการอ่านง่ายๆและสามารถทำได้หลายโอกาส เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง

              ๓. การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ  นอกจากความต้องการในการหาความรู้และความบันเทิงแล้ว คนบางคนยังแสวงหาคำตอบอื่นๆให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป ที่จะมักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต  หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ หรืออ่านเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ กล่าวคือการอ่านหนังสือมากๆ  จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีความคิดกว้างขวางทันสมัย สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือที่เป็นคติสอนใจหรือเป็นอุทาหรณ์

ความหมายและความสำคัญของการอ่าน



ความหมายของการอ่าน


              การอ่านเป็นกระบวนการทางความคิดในการรับสาร เป็นพฤติกรรมทางการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นการแปลความหมายของตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพที่ได้ดูออกมาเป็นถ้อยคำและความคิด  ทำความเข้าใจสิ่งที่อ่านแล้วนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเอง  ทั้งด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์
ความสำคัญของการอ่าน
              การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโต และจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก  ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวัง  และมีความอยากรู้อยากเห็น  อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน  การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง